สร้างระบบระบายเกลือร่วมกับระบบพืช ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาเพื่อควบคุมระดับน้ำเค็มใต้ผิวดิน ส่งเสริมการปลูกโสนอัฟริกันเป็นพืชปุ๋ยสดในพื้นที่กระทงนา ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 ปลูกกระถินออสเตรเลียในพื้นที่ดินเค็มจัด
 
 
 
โครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำแผนที่คุณสมบัติของดินเชิงเลข โดยใช้เครื่องมือ EM (electromagnetic-induction conductivity) ชนิดต่างๆ ในพื้นที่ดินเค็ม">> Click  >>   
 หลักการและเหตุผล
     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่การเกษตรสูงสุดในประเทศ มีเนื้อที่เพาะปลูกของภาคถึง ๖๐ ล้านไร่ แต่เป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวของผลผลิตด้านการเกษตรต่ำสุด เพราะมีปัญหาคุณภาพดินไม่ดี และปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งคือ ปัญหาดินเค็ม ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ดินเค็ม ๑๗.๘ หรือ ๒๙ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่เพาะปลูกของภาค เพราะดินเค็มทำให้โครงสร้างของดินเสีย ดินแน่นทึบ นอกจากนี้ใน พื้นที่ดินเค็มจะพบความเค็มทั้งน้ำในลำห้วยธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และน้ำใต้ดิน ซึ่งความเค็มของดินและน้ำเป็นอันตรายต่อพืช ทำให้การเจริญเติบโตของพืชลดลงหรือตาย และยังเป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศ จึงส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของภูมิภาคนี้ และยังส่งผลต่อความมั่นคงของอาหารในภูมิภาค รวมทั้งในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการแพร่กระจาย ดินเค็ม
      ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๕ และหน่วยงานในสังกัดของกรมฯ ซึ่งเป็นองค์กร ที่ได้ดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ และดำเนินงานวิจัยด้านดินเค็ม ดังนั้นจึงได้จัดประชุมวิชาการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเป็นการติดตามการทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม ตลอดจนประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมตามนโยบาย Agri-map และกระตุ้นให้นักวิชาการ และเกษตรกร เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านดินเค็ม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายและสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ และชุมชนในพื้นที่ดินเค็ม เพื่อพัฒนา พื้นที่ดินเค็มแบบบูรณาการ และมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มอย่างยั่งยืน

 
 วัตถุประสงค์ของโครงการ
     ๑. เพื่อติดตามแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์การวิจัยด้านดินเค็มของนักวิชาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากองค์กรต่าง ๆ
     ๒. เพื่อติดตามการทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม ตลอดจนประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ
     ๓. เพื่อกำหนดทิศทางการวิจัย การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต
 
 
 การลงทะเบียน
     ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียนออนไลน์    จำนวน ๒๐๐ ราย  ดังนี้
     ๑. นักวิชาการเกษตร สังกัด กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน ๑๐๐ ราย
     ๒. อาจารย์ นักศึกษา หน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน ๑๐๐ ราย
     ขอเชิญลงทะเบียนออนไลน์ได้ตั้งแต่ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป จนกว่าจะครบตามจำนวน และประกาศรายชื่อผู้ลงทะเบียนออน์ไลน์ ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒

     ผู้จัดประชุมวิชาการฯ ดำเนินการลงทะเบียน  ดังนี้
     ๑. เกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ดินเค็ม จำนวน ๑๐๐ ราย
     ๒. ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร ผอ.สำนัก ผชช. องค์กรระหว่างประเทศ จำนวน ๑๐๐ ราย

     การลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน
     ๑. ลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน ภาคบรรยายและโปสเตอร์ วันที่ ๒๔-๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒
     ๒. ส่งบทความวิจัย (บทคัดย่อและฉบับสมบูรณ์.doc และ .pdf พร้อม PowerPoint
         ทาง e-mail: exp.ldd.r05@hotmail.com ภายในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒
     ๓. ประกาศรายชื่อผู้นำเสนอผลงาน และชื่อผลงาน (ภาคบรรยายและโปสเตอร์) วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒

 
 กำหนดการประชุม
     Click >> ดาวน์โหลดกำหนดการประชุม
 
 แบบฟอร์มการจองห้องพักและการเดินทาง
     แบบฟอร์มจองห้องพัก จะดำเนินการดาวน์โหลดได้ หลังจากประกาศรายชื่อผู้ลงทะเบียน ๑๐๐ ราย
 
 สถานที่จัดประชุม
     โรงแรมพูลแมนขอนแก่นราชาออร์คิด จังหวัดขอนแก่น
 
 ระยะเวลาในการจัดประชุม
     ระหว่าง วันที่ ๑๑-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. จำนวน ๒ วัน
 
 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
     - สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๕ กรมพัฒนาที่ดิน
     - สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๔ กรมพัฒนาที่ดิน
     - สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๓ กรมพัฒนาที่ดิน
 
 ติดต่อสอบถาม รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม
     อาคารที่ทำการผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๕ ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๔๓-๒๔๑๔๕๘   โทรสาร ๐๔๓-๒๔๑๔๕๘
Email: exp.ldd.r05@gmail.com
http://www.expert-r05-ldd.com